นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักคำว่า “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” อีกต่อไปแล้ว เพราะกลุ่มธุรกิจเหล่านี้นับเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย โดยการมาของแพลตฟอร์มขายของออนไลน์หลากหลายเจ้าทั้ง Shopee, Lazada และรายอื่นๆ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาช่วยให้กลุ่มธุรกิจต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงสู่ Digital Transformation ไปโดยปริยาย สำหรับกลยุทธ์หลักๆ ของแพลตฟอร์มเหล่านี้คือการมีโกดังหรือคลังสินค้าขนาดใหญ่เป็นของตัวเอง และมีการกระจายคลังสินค้าเหล่านี้ไปตามหัวเมืองสำคัญของแต่ละจังหวัดของไทยอย่างครอบคลุม เพื่อให้ร้านค้าปลีกต่างๆ สามารถนำสินค้ามาฝากไว้กับแพลตฟอร์มเหล่านี้ดี
หากมองภาพรวมของแพลตฟอร์มเหล่านี้จะเห็นได้ว่าพวกเขามีการวางระบบในการจัดการสินค้าที่ดี โดยมีคลังสินค้าคือคีย์สำคัญในการบริหารจัดการขั้นตอนต่างๆ เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที สำหรับในบทความนี้ Wall Tech ก็จะมาแนะนำเทคนิคดีๆ ในการสร้างคลังสินค้าที่สามารถตอบโจทย์ธุรกิจแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก่อนอื่นเราอยากให้คุณได้เข้าใจคำจำกัดความของ “ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ” กันก่อนว่าจริงๆ แล้วคืออะไร
คำจำกัดความของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce)
ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) คือ กลุ่มธุรกิจที่มีการดำเนินกิจการผ่านช่องทางออนไลน์แบบครบวงจรไม่ว่าจะเป็น ช่องทางการทำตลาดบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ และการวางกลยุทธ์ทำตลาดด้วยวิธี Digital Marketing ต่างๆ นำเสนอการขายสินค้าและบริการต่างๆ ไปถึงกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้บริโภคคนสำคัญของธุรกิจที่มีพฤติกรรมการซื้อขายและค้นหาข้อมูลสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก โดยเหล่าผู้ประกอบการสามารถทำตลาดได้ผ่านช่องทางทั้ง 3 ประเภทคือ Social Commerce, Online Marketplace และ Owned Channel หรือเว็บไซต์ของตัวเอง
สร้างคลังสินค้าอย่างไรให้ตอบโจทย์ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
สำหรับกลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่มีการวางแผนในการสร้างคลังสินค้าเอาไว้ แต่ยังไม่ได้รู้ว่าควรจะเริ่มต้นสร้างอย่างไร หรือเริ่มวางแผนจากตรงไหนดี Wall Tech จะมาอธิบายให้คุณได้เข้าใจเป็นข้อๆ ดังนี้
1. เลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าดีก็มีชัยมากกว่าใคร
ทำเลที่ตั้งคือส่วนที่สำคัญในการสร้างคลังสินค้าเป็นอย่างมาก เพราะจุดประสงค์ของการสร้างคลังสินค้าขึ้นมาเพื่อเป็นการเก็บสต็อกสินค้าที่รับเข้ามาจำหน่าย รวมไปถึงบางรายที่ต้องการสร้างเอาไว้เพื่อเก็บวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าเอาไว้าเองอย่างคลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ โดยที่ผู้ประกอบการเองต้องคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานรอบด้านทั้งการขนส่งและส่งออกสินค้า ซึ่งมีเทคนิคในการเลือกทำเลง่ายๆ ด้วยการเลือกทำเลที่ใกล้ตลาดเพื่อการส่งสินค้าที่สะดวก และต้องไม่ห่างจากโรงงานผลิตสินค้าด้วยเช่นกัน เพื่อช่วยลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า
2. โครงสร้างคลังสินค้าที่ดีทำให้ธุรกิจมีอนาคตไกล
ในคลังสินค้าหนึ่งแห่งจะต้องมีโครงสร้างและการออกแบบที่ดีได้มาตรฐาน โดยเริ่มตั้งแต่การทำพื้นคลังสินค้า ที่ต้องมีความแข็งแรงสามารถรับน้ำหนักได้มากมีความเรียบสม่ำเสมอ และต้องคำนึงถึงการหดตัวของคอนกรีตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในส่วนของโครงสร้างต้องมีการเลือกใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนที่มีคุณภาพสามารถทนต่อความร้อนจากนอกคลังสินค้า และไม่ติดไฟเมื่อเกิดอัคคีภัย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับคลังสินค้าทุกประเภท
3. ระบบระบายอากาศและการควบคุมอุณหภูมิภายในคลังสินค้า
ถัดมาเป็นเรื่องของระบบระบายความร้อนภายในคลังสินค้า เป็นอีกสิ่งที่ไม่ห้ามมองข้ามเด็ดขาด เพราะสินค้าที่ถูกกักเก็บไว้ภายในพื้นที่ล้วนมีอายุการใช้งานที่ตายตัว ซึ่งความร้อนเป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้สินค้าและวัตถุดิบต่างๆ เสื่อมสภาพได้ก่อนเวลาอันควร ดังนั้นในการออกแบบคลังสินค้าควรคำนึงถึงเรื่องความร้อน ทั้งช่องทางการระบายอากาศ การทำหลังคาคลังสินค้าให้สูงเพื่อให้อากาศถ่ายเท และการเลือกใช้แผ่นฉนวนกันความร้อนก็เป็นอีกทางเลือกสำคัญของระบบระบายอากาศเช่นกัน
การสร้างคลังสินค้าสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นนับว่ามีประโยชน์มากๆ สำหรับธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดที่การทำคลังสินค้าเป็นของตัวเองคือทางเลือกที่ทำให้คุ้มทุนมากกว่า นอกเหนือจากการสร้างคลังให้มีมาตรฐานแล้ว ระบบจัดการภายในคลังก็เป็นอีกสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องวางแผนให้รัดกุมมากที่สุด เพื่อให้สินค้าสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้เสมอ
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซรายใดที่ต้องการสร้างคลังสินค้าเป็นของตัวเอง สามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำกับผู้เชี่ยวชาญจาก Wall Tech ได้โดยตรง วางใจพวกเราได้ด้วยประสบการณ์ในวงการฉนวนกันความร้อนมากกว่า 30 ปี พร้อมช่วยให้คุณเติบโตได้ในงบประมาณที่ยุติธรรมและคุ้มค่าต่อธุรกิจมากที่สุด