Q&A เกี่ยวกับแผ่นฉนวนกันความร้อน
ในการตัดสินใจสร้างโรงงานสักแห่งหนึ่ง สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาดคือการเลือกวัสดุที่มีคุณภาพสำหรับใช้ในการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการทำงานทั้งของพนักงานและเครื่องจักรภายในโรงงาน รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่เข้ามาช่วยลดความร้อนภายในโรงงานอย่าง “แผ่นฉนวนกันความร้อน” ซึ่งหลายๆ คนอาจสงสัยว่าแผ่นฉนวนกันความร้อนคืออะไร และมีข้อดีหรือข้อเสียอย่างไร วันนี้เราได้รวบรวมคำถามยอดนิยม และคำตอบเกี่ยวกับฉนวนกันความร้อนมาไว้ให้ที่นี่แล้ว
Q: แผ่นฉนวนกันความร้อนมีกี่ประเภทและมีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?
A:
แผ่นฉนวนกันความร้อน | ข้อดี | ข้อด้อย |
---|---|---|
PS Panel ทำจาก โฟมขาว หรือ (Expanded Polystyrene Foam or EPS Foam) | เป็นแผ่นผนังฉนวนที่กันความร้อนได้ | เมื่อเกิดอัคคีภัย แผ่นโฟมจะไม่สามารถกันไฟได้ แถมลามไฟและสลายหายไปในเวลาอันสั้น ทำให้ผนังหรืออาคารถล่ม สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ค่าการดูดซับน้ำสูง (Water Absorption) ทำให้อายุการใช้งานสั้น |
PU Panel หรือ PIR Panel ปลอมที่มีค่า Index น้อยกว่า 350 ทำจาก โฟมเหลือง (Polyurethane Foam) | เป็นแผ่นผนังฉนวนที่กันความร้อนได้ดีกว่าโฟมขาว | เมื่อเกิดอัคคีภัย แผ่นโฟมไม่กันไฟ ลามไฟง่ายและรวดเร็ว เกิดควันจำนวนมาก สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล |
PIR Panel แท้ๆ ทำจาก โฟมชนิดพิเศษ (Polyisocyanurate Foam) หรือ PIR FIWall i380 | เป็นแผ่นผนังฉนวนที่กันความร้อนได้ดีกว่าโฟม PS และ PU หรือ PIR ปลอม ที่มีค่า Index น้อยกว่า 350 สามารถกันไฟได้และมีหลายเกรด จึงต้องพิจารณาที่ค่าการกันไฟ (Index) ถ้ามากกว่า 350 ขึ้นไปจึงจะสามารถกันไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าดูดซับน้ำต่ำ อายุการใช้งานนานกว่าโฟม PS | มีราคาที่สูงกว่าโฟมชนิดอื่นๆ |
Rockwool Panel หรือแผ่นผนังทนไฟ Rockwool (ร็อควูล) ทำมาจากเส้นใยหิน | เป็นฉนวนที่มีความสามารถในการกันไฟได้ดีที่สุดในบรรดาฉนวนที่กล่าวมาข้างต้น มีความแข็งแรงสูง เหมาะกับห้องที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียสขึ้นไป สามารถทนไฟได้สูงสุดถึง 100 องศาเซลเซียส | ไม่เหมาะสมกับการใช้งานเป็นแผ่นผนังห้องเย็นติดลบได้ |
Q: ควรพิจารณาอะไรบ้างก่อนเลือกแผ่นฉนวนกันความร้อน?
A: สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อฉนวนกันความร้อนนั้น คือการพิจารณาค่าต่างๆ อย่างละเอียด เนื่องจากแต่ละค่านั้นจะบ่งบอกถึงคุณภาพของฉนวนกันความร้อนแต่ละรูปแบบ ได้แก่
- ค่า R หรือ R-Value (ค่าการต้านทานความร้อน)
เนื่องจากค่าการต้านทานความร้อนเป็นอัตราส่วนระหว่างความหนาของวัสดุตามแนวความร้อนไหลผ่าน กับความสามารถในการต้านทานความร้อน โดยขึ้นอยู่กับความหนา และค่า K ของวัสดุนั้นๆ ยิ่งค่า R Value สูง ยิ่งแสดงถึงความเป็นฉนวนที่ดีของวัสดุนั้นๆ - ค่า K หรือ K-Value (ค่าการนำความร้อน)
ค่าการนำความร้อน เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการนำความร้อนของวัสดุนั้นๆ โดยจะวัดค่าในรูปแบบของอัตราปริมาณความร้อนที่ไหลผ่านต่อหน่วยเวลา โดยคำนวณจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งฉนวนกันความร้อนที่ดีควรจะต้องมีค่า K Value ที่ต่ำ เนื่องจากค่า K Value จะเป็นตัวบอกว่าวัสดุเหล่านั้นยอมให้ความร้อนผ่านตัวฉนวนได้ง่ายเพียงใด ซึ่งค่าการนำความร้อนนั้นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัววัสดุ - ค่า U หรือ U-Value (ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อน)
ค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนคือค่าที่บ่งบอกถึงปริมาณความร้อนที่ไหลผ่านเข้ามาในส่วนหนึ่งของอาคาร โดยที่อุณหภูมิทั้งสองด้านมีความแตกต่างกัน ซึ่งแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ดีควรที่จะต้องมีค่า U Value ที่ต่ำ โดยสามารถคำนวณได้จากความหนาของวัสดุและค่าการนำความร้อนของวัสดุนั้นๆ ยิ่งค่า U Value ของวัสดุน้อยเท่าไหร่ ความสามารถในเรื่องของการทนความร้อนก็ดีมากขึ้นเท่านั้น
Q: ควรติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนบริเวณไหนบ้าง
หลายๆ คนอาจจะคิดว่าการติดตั้งฉนวนกันความร้อนนั้นจะต้องติดตั้งแค่เพียงผนังและหลังคาฉนวนเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้ว เพื่อให้ฉนวนกันความร้อนสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ควรที่จะต้องฝังแผ่นฉนวนกันความร้อนลงใต้พื้นดินนอกเหนือจากการทำผนังฉนวนและติดตั้งหลังคาฉนวนกันความร้อน เพื่อช่วยควบคุมอุณหภูมิภายใน เพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนไหลเข้ามาภายในห้องเย็นได้
Q: ความเสี่ยงจากการเลือกแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ไม่ได้คุณภาพ
- หากใช้งานแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ไม่ได้คุณภาพอาจทำให้เกิดรอยรั่ว หรือไม่สามารถป้องกันความเย็นได้อย่างเต็มที่ จนทำให้เกิดปัญหาความเย็นรั่วไหลและทำให้ความร้อนสูงขึ้น จนผู้ประกอบการต้องติดเครื่องปรับอากาศเพิ่มเพื่อลดความร้อนให้กับห้อง ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น การติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ได้คุณภาพจึงเป็นคำตอบสำหรับปัญหานี้ เพราะสามารถติดตั้งได้อย่างแนบสนิท ความเย็นไม่มีรั่วไหล
- การติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ไม่ได้คุณภาพจะทำให้ความร้อนด้านนอกไหลเข้ามาภายในโรงงาน เมื่อไม่สามารถควบคุมความร้อนได้ก็จะทำให้เครื่องจักรที่ต้องใช้งานตลอดเวลานั้นเกิดความร้อนสูงมากขึ้นไปอีก จนอาจทำให้เครื่องจักรเสียหายก่อนเวลาอันควรได้ ดังนั้น การเลือกติดตั้งแผ่นฉนวนกันความร้อนที่ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลงทุน เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาวและลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
Wall Tech ผู้เชี่ยวชาญเรื่องห้องเย็นและแผ่นฉนวนกันความร้อน รู้ลึก รู้จริง พร้อมช่วยผู้ประกอบการทำกำไรจากการใช้ห้องเย็นที่ผลิตขึ้นจากแผ่นฉนวนคุณภาพ เพื่อการใช้งานที่ยาวนานและคุ้มค่าต่อการลงทุน